ความรู้เรื่องยาเสพติด

ยาเสพติดคืออะไร

ยา เสพติด หมายถึง ยาหรือสารเคมี หรือวัตถุชนิดใด ๆ ที่อาจเป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ หรือจากการสังเคราะห์ ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะโดยวิธีการกิน ดม สูบ ฉีด หรือวิธีใดๆก็ตาม เป็นช่วงระยะเวลาๆ หรือนานติดกัน จนทำให้ร่างกายทรุดโทรมและตกอยู่ไต้อำนาจหรือเป็นทาสของสิ่งนั้น ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ หรือจิตใจเพียงอย่างเดียว เนื่องจาก
  1. ต้องเพิ่มขนาดการเสพมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะเมื่อเสพเข้าไปสักระยะจะเกิดภาวะดื้อยา ปริมาณยาเดิมไม่สามารถทำให้เมาได้
  2. เมื่อถึงเวลาเสพ หากไม่ได้เสพจะทำให้เกิดอาการขาดยา ทำให้ทรมานทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ หรือจิตใจเพียงอย่างเดียว

ขั้นตอนการตรวจพิสูจน์

1. การตรวจสอบทางกายภาพ เช่น สี ตราประทับ ขนาดของเม็ดยา น้ำหนัก การบรรจุ/หีบห่อ/ซอง และรายละเอียดอื่นๆ
2. การตรวจคุณภาพวิเคราะห์ เป็นการตรวจพิสูจน์ให้รู้ว่าของกลางต้องสงสัยเป็นยาเสพติดหรือไม่ ประเภทใด หรือชนิดใด
2.1 การตรวจพิสูจน์เบื้องต้น โดยใช้น้ำยาเคมี เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงสีของน้ำยา
2.1.1.Marquis reagent
– ทดสอบกับยาบ้า น้ำยาจะเปลี่ยนเป็นสีส้ม แล้วค่อยเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล
– ทดสอบกับยาอี น้ำยาจะเปลี่ยนเป็นสีเทาออกดำ
– ทดสอบกับเฮโรอีน มอร์ฟีน ฝิ่น น้ำยาจะเปลี่ยนเป็นสีม่วง
2.1.2. Mecke reagent
– ทดสอบกับเฮโรอีน น้ำยาจะเปลี่ยนเป็นสีเขียว
2.1.3 Fordhe reagent
– ทดสอบกับเฮโรอีน น้ำยาจะเปลี่ยนเป็นสีม่วง
2.2. การตรวจเพื่อยืนยันผล
– ทิน เลเยอร์ โครมาโตกราฟฟี ( Thin Layer Chromatography,THC )
– เครื่องมือแก๊สโครมาโตกราฟ ( Gas Chromatograph,GC )
3. การตรวจหาปริมาณวิเคราะห์ เป็นการตรวจพิสูจน์ให้รู้ว่าของกลางยาเสพติดนั้นมีปริมาณความบริสุทธิ์ของตัวยาเสพติดเท่าใด
– เครื่องมือแก๊สโครมาโตกราฟ ( Gas Chromatograph,GC )

ประวัติความเป็นมาของยาเสพติด (Historical Background)

1.1 ในประเทศไทย
ยาเสพติดซึ่งเป็นปัญหาของชาติอยู่ในขณะนี้ มีประวัติความเป็นมาอย่างไรเป็นสิ่งที่น่าสนใจ เพราะมนุษย์ได้เกี่ยวข้องกับยาเสพติดมาเป็นเวลาช้านาน บางชนิดก็ให้ทั้งคุณประโยชน์และโทษ บางชนิดก็มีแต่โทษภัยเท่านั้น ซึ่งในปัจจุบันมียาเสพติดชนิดต่าง ๆ ในท้องตลาดมากกว่า 120 ชนิด อย่างไรก็ตามยาเสพติดชนิดแรกที่คนไทยรู้จักก็คือ ฝิ่น

ฝิ่นเข้ามาในประเทศไทยในสมัยใดนั้นยังไม่ทราบแน่ชัด เท่าที่มีหลักฐานครั้งแรก เป็นประกาศใช้กฎหมายลักษณะโจร ในสมัยรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ. 1903 หรือ ประมาณ 600 ปีล่วงมาแล้ว ตามกฎหมายฉบับนี้ได้บัญญัติการห้ามซื้อ ขาย เสพฝิ่นไว้ว่า “ผู้สูบฝิ่น กินฝิ่น ขายฝิ่นนั้น ให้ลงพระราชอาญาจงหนักหนา ริบราชบาทว์ให้สิ้นเชิง ทเวนบกสามวัน ทเวนเรือสามวัน ให้จำใส่คุกไว้กว่าจะอดได้ ถ้าอดได้แล้วเรียกเอาทานบนแก่มันญาติพี่น้องไว้แล้วจึงให้ปล่อยผู้สูบ ขาย กินฝิ่น ออกจากโทษ” แม้ว่าบทลงโทษจะสูง แต่การลักลอกซื้อขายและเสพฝิ่น ก็ยังมีต่อมาโดยตลอดกฎหมายคงใช้ได้แต่ในกรุงศรีอยุธยาเท่านั้น ส่วนหัวเมืองและเมืองขึ้นที่ห่างพระเนตรพระกรรณ ไม่มีการเข้มงวดกวดขัน ซึ่งปรากฎว่าผู้ครองเมืองบางแห่งก็ติดฝิ่นและผูกขาดการจำหน่ายฝิ่นเสียเองด้วย เมื่อเป็นเช่นนี้ปัญหาการขายฝิ่น เสพฝิ่น จึงเลิกไม่ได้ตลอดสมัยกรุงศรีอยุธยา

ต่อมาสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงแจกกฎหมายป่าวร้องห้ามปรามผู้ขาย ผู้สูบฝิ่นแต่ก็ยังไม่มีผล ครั้นถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จึงได้ทรงตราพระราชกำหนดโทษให้สูงขึ้นไปอีกโดย “ห้ามอย่าให้ผู้ใดสูบฝิ่น กินฝิ่น ซื้อฝิ่นขายฝิ่น และเป็นผู้สมซื้อสมขายเป็นอันขาดทีเดียว ถ้ามิฟังจับได้และมีผู้ร้องฟ้องพิจารณาเป็นสัจจะให้ลงพระอาญา เฆี่ยน 3 ยก ทเวนบก 3 วัน ทเวนเรือ 3 วัน ริบราชบาทว์บุตรภรรยาและทรัพย์สิ่งของให้สิ้นเชิง ให้ส่งตัวไปตะพุ่นหญ้าช้าง ผู้รู้เห็นเป็นใจมิได้เอาความมาว่ากล่าว จะให้ลงพระอาญาเฆี่ยน 60 ที”

ในรัชกาลที่ 3 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นระยะที่ตรงกับสมัยที่อังกฤษนำฝิ่นจากอินเดียไปบังคับขายให้จีนทำให้มีคนจีนติดฝิ่นเพิ่มขึ้น และในช่วงเวลานั้นตรงกับระยะที่คนจีนเข้ามาค้าขายในเมืองไทยมากขึ้น จึงเป็นการนำการใช้ฝิ่นและผู้ติดฝิ่นเข้ามาในเมืองไทย ตลอดจนมีการลักลอบนำฝิ่นเข้ามาในเมืองไทยด้วยเรือสินค้าต่าง ๆ มาก จึงเป็นเหตุให้การเสพฝิ่นระบาดยิ่งขึ้น พระองค์จึงได้ทรงมีบัญชาให้มีการปราบปรามอย่างเข้มงวดกวดขันในปี พ.ศ. 2382 มีผลทำให้การค้าฝิ่นและสิ่งอื่น ๆ ที่ผิดกฎหมายเข้าไปอยู่ในมือของกลุ่มอั้งยี่ที่เกิดขึ้นในกรุงเทพฯ และหัวเมืองชายทะเล สร้างความวุ่นวายจากการทะเลาะวิวาทระหว่างกลุ่มอั้งยี่ต่าง ๆ จนต้องทำให้ทหารปราบปราม

ในสมัยรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นว่าการปราบปรามไม่สามารถขจัดปัญหาการสูบและขายฝิ่นได้ และก่อให้เกิดความยุ่งยากวุ่นวายขึ้น จึงทรงเปลี่ยนนโยบายใหม่ ยอมให้คนจีนเสพและขายฝิ่นได้ตามกฎหมายแต่ต้องเสียภาษีผูกขาดมีนายภาษีเป็นผู้ดำเนินการ ปรากฏว่าภาษีฝิ่นทำรายได้ให้แก่ประเทศไทยมาก ซึ่งสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงรวบรวมไว้ในหนังสือลัทธิธรรมเนียมต่าง ๆ ใน “ตำนานภาษีฝิ่น” ว่าภาษีที่ได้นั้นประมาณว่าถึงปีละ 4 แสนบาท สูงเป็นอันดับที่ 5 ของรายได้ประเภทต่าง ๆ และได้มีความพยายามห้ามคนไทยไม่ให้เสพฝิ่น แต่ก็ไม่ได้ผลเต็มที่

ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สภาพของการค้าฝิ่นยังคงเป็นอยู่เช่นเดิม คือมีผู้คนจำนวนไม่น้อยที่เสพและติดฝิ่น ที่มีขายตามโรงยาฝิ่นโดยถูกต้องตามกฎหมาย และภาษีฝิ่นก็ยังเป็นรายได้ใหญ่ของประเทศ ทรงดำริที่จะแก้ภาษีฝิ่นที่จะทำให้มีการสูบฝิ่นน้อยลงจนสามารถเลิกได้ในที่สุด และทรงยอมให้รัฐฯ ขาดรายได้จากภาษีฝิ่น เมื่อไม่มีผู้สูบฝิ่น ความพยายามนี้ไม่เป็นผลสำเร็จในรัชสมัยของพระองค์ แต่จากความพยายามนี้ปริมาณเงินรายได้จากภาษีฝิ่นก็ลดลงเรื่อย ๆ จนสิ้นสุดเมื่อปี 2502 ทั้งนี้ด้วยมาตรการควบคุมต่าง ๆ และรายได้ชดเชยที่รัฐได้จากภาษีอากรยาสูบแทน

ใน พ.ศ. 2501 คณะปฏิวัติซึ่งปกครองประเทศไทยอยู่ในขณะนั้นได้พิจารณาเห็นว่า การเสพฝิ่นเป็นที่รังเกียจในวงการสังคมและเป็นอันตรายแก่สุขภาพและอนามัยอย่างร้ายแรง ประเทศต่าง ๆ ได้พยายามเลิกการเสพฝิ่นโดยเด็ดขาดแล้ว จึงเห็นเป็นการสมควรให้เลิกการเสพฝิ่นและจำหน่ายฝิ่นในประเทศไทย จึงมีประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 37 ลงวันที่ 9 ธันวาคม 2501 ให้เลิกการเสพฝิ่นและจำหน่ายทั่วราชอาณาจักร และกำหนดดำเนินการให้เสร็จสิ้นเด็ดขาดภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2502 โดยกำหนดการตามลำดับดังนี้

  1. ประกาศให้ผู้เสพฝิ่นขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตให้เสพฝิ่นภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2501
  2. ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2502 ห้ามมิให้ร้านฝิ่นจำหน่ายฝิ่นแก่ผู้ที่ไม่มีใบอนุญาตให้สูบฝิ่น
  3. ยุบเลิกร้านจำหน่ายฝิ่นภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2502
  4. ให้กระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงมหาดไทย ร่วมกันจัดตั้งสถานพยาบาล และพักฟื้นผู้อดฝิ่น
  5. ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2502 ผู้กระทำผิดฐานเสพฝิ่นหรือมูลฝิ่น นอกจากจะต้องรับโทษตามกฎหมายแล้วยังต้องถูกส่งไปรับการรักษา ณ สถานพยาบาลและพักฟื้นผู้อดฝิ่นไม่เกิน 90 วันอีกด้วย

ผลการดำเนินงานปรากฏว่ามีผู้ติดฝิ่นที่ขึ้นทะเบียนทั้งสิ้น 70,985 คน เป็นชาย 69,961 คน หญิง 1,024 คน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2502 ทางราชการได้ระดมตำรวจตรวจตราตามร้านฝิ่นทั่วราชอาณาจักร เพื่อมิให้ผู้ที่ไม่มีใบอนุญาตเข้าเสพฝิ่นในร้านค้าฝิ่น และมิให้ร้านฝิ่นขายฝิ่นให้แก่ผู้ไม่มีใบอนุญาต ในวันที่ 30 มิถุนายน 2502 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของการเสพฝิ่นและการจำหน่ายฝิ่น เจ้าพนักงานสรรพสามิตพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ตำรวจได้เข้าควบคุมร้านฝิ่นทุกแห่ง โดยเจ้าพนักงานสรรพสามิต ได้ตรวจรับฝิ่น มูลฝิ่นที่เหลือและกล้องสูบฝิ่นทั้งหมดจากร้านจำหน่ายฝิ่น และเมื่อเวลา 01.00น. ของวันที่ 1 กรกฎาคม 2502 กระทรวงมหาดไทย ร่วมกับกระทรวงการคลังได้จัดการทำลายกล้องสูบฝิ่น ซึ่งรวบรวมจากร้านฝิ่นในจังหวัดพระนคร ธนบุรี โดยเผาไฟที่ท้องสนามหลวง มีจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ หัวหน้าคณะปฏิวัติเป็นประธานและควบคุมการเผาทำลายเอง กล้องฝิ่นที่เผาทำลายในคืนวันนั้นจำนวน 9,001 คัน ต่อมาได้เผาทำลายในต่างจังหวัดมีจำนวน 11,288 คัน รวมกล้องสูบฝิ่นที่เผาทำลายทั้งสิ้น 45,527 คัน นอกจากนี้ยังได้แก้ไขกฎหมายว่าด้วยฝิ่น เพิ่มโทษผู้ละเมิดให้สูงขึ้น ซึ่งได้ประกาศใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2502 เป็นต้นมา จากประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าวข้างต้นเป็นอันว่านับแต่รุ่งอรุณของวันที่ 1 กรกฎาคม 2502 การเสพและจำหน่ายฝิ่นในประเทศไทยก็เป็นสิ่งผิดกฎหมาย นอกจากรัฐบาลจะได้จัดให้ผู้ติดฝิ่นเข้ารับการบำบัดรักษา และฟื้นฟูแล้ว ปรากฏว่าการปราบปรามก็ได้กระทำเด็ดขาดยิ่งขึ้น มีการประหารชีวิตผู้ผลิตและค้ายาเสพติด แต่ปัญหายาเสพติดไม่ได้ลดลง เพียงแต่การซื้อขายมีการดำเนินการซ่อนเร้นและมีวิธีการที่ลึกซึ้งแยบยลยิ่งขึ้น นอกจากนี้ตัวยาเสพติดได้เปลี่ยนรูปไปเป็นเฮโรอีน ซึ่งผลิตด้วยการเปลี่ยนตัวยาสำคัญในฝิ่น คือ มอร์ฟีน ด้วยวิธีทางเคมีเป็นยาเสพติดที่มีฤทธิ์ร้ายแรงกว่าฝิ่นก็กลับระบาดในเมืองไทย พบครั้งแรกราวเดือนกันยายน พ.ศ. 2502 เฮโรอีนได้ระบาดในหมู่ติดฝิ่นอยู่เดิม เพราะสูบได้ง่ายใช้เผาในกระดาษตะกั่วแล้วสูดไอไม่ต้องมีบ้องฝิ่น และไม่มีกลิ่นเวลาสูบ การหลบหนีกฎหมายก็ทำได้ง่ายกว่าการสูบฝิ่น

ปัจจุบัน ปัญหายาเสพติดที่ปรากฏอยู่ในหมู่คนไทยมีรูปแบบต่าง ๆ กันและลักษณะปัญหาแตกต่างกันออกไป ชาวไทยภูเขาที่อาศัยอยู่ในภาคเหนือของประเทศไทย ส่วนหนึ่งมีอาชีพหลักในการปลูกฝิ่น และมีจำนวนไม่น้อยที่สูบและติดฝิ่นด้วย ในหมู่ชาวไทยในชนบทพื้นราบ ก็มีการสูบฝิ่น ใช้ใบกระท่อม กัญชา ยาม้าหรือยาขยันและยาแก้ปวด อยู่อย่างแพร่หลาย ปัญหาที่ร้ายแรงตามมาคือการแพร่ระบาดของการติดยาเสพติดหลายชนิดปนกันอยู่ในขณะนี้ทั้งในต่างจังหวัดและในเขตกรุงเทพมหานคร โดยเฉพาะยาม้าหรือยาบ้า ได้แพร่ระบาดเข้าในในแทบทุกชุมชน และหมู่บ้านซึ่งนับว่าเป็นปัญหาใหญ่ในขณะนี้ที่ทุกคนต้องร่วมกันแก้ไข

1.2 ในต่างประเทศ
ยาเสพติดในแต่ละประเทศมีประวัติไม่เหมือนกัน นักประวัติศาสตร์เชื่อกันว่าประเทศอิรัค อิหร่านและประชาชนในแถบเมโสโปเตเมีย รู้จักการปลูกฝิ่นมาประมาณ 5,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ชาวกรีกทราบว่าฝิ่นสามารถระงับความเจ็บปวดและความกลัดกลุ้มได้เป็นอย่างดี ส่วนชาวอินเดียก็ใช้ฝิ่นเสพ เพื่อให้เกิดความมึนเมา โดยเห็นว่าเป็นความสุขและลืมความทุกข์ต่าง ๆ ได้ ต่อมาชาวผิวขาวนักล่าเมืองขึ้นในยุคศตวรรษที่ 18-19 ก็รู้แท้เห็นจริงว่าฝิ่นทำอันตรายต่อผู้เสพได้ดี จึงดำเนินนโยบายล่าเมืองขึ้นให้มาอยู่ในอาณานิคมของตน ได้นำฝิ่นจากอินเดียไปให้จีนสูบในที่สุดก็เกิดสงครามฝิ่น ระหว่างจีนกับอังกฤษ พ.ศ. 2382 – 2384 จีนจึงยอมแพ้อังกฤษ ทำสัญญาสงบศึกกันในปี พ.ศ. 2385 และชดใช้ค่าเสียหายให้อังกฤษเป็นจำนวนเงินถึง 21,000,000 เหรียญสหรัฐฯ และยอมเปิดเมืองท่าต่าง ๆ ตลอดจนยอมให้อังกฤษเช่าฮ่องกงอีกด้วย นับแต่นั้นมาชาวจีนก็อ่อนกำลังลงเรื่อย ๆ จนกระทั่งถึงยุคจอมพลเจียงไคเช็ค พ.ศ. 2477 มาดามเจียงไคเช็คเป็นผู้ต่อต้านการปลูกฝิ่น ได้มีการประหารชีวิตผู้คนที่เสพติดฝิ่นไปเป็นจำนวนมาก ครั้นต่อมาญี่ปุ่นรุกรานจีนก็ใช้ยาเสพติดเป็นเครื่องมือ ทำให้ประเทศจีนประสบปัญหายาเสพติดยุ่งยากมากขึ้น เพราะเกิดปัญหายาเสพติดหลายชนิดขึ้น นอกเหนือจากฝิ่นที่มีแพร่ระบาดอยู่ทั่วไป ต่อมาพรรคคอมมิวนิสต์จีนมีชัยชนะและจีนคณะชาติได้ถอยร่นไปอยู่ที่เกาะไต้หวัน จีนคอมมิวนิสต์จึงได้ปราบปรามยาเสพติดบนผืนแผ่นดินใหญ่หมดไปอย่างราบคาบด้วยวิธีรุนแรงและเด็ดขาด

เมื่อได้กล่าวถึงประวัติความเป็นมาของยาเสพติดในทวีปเอเซีย โดยเริ่มจากเอเชียไมเนอร์หรือตะวันออกกลาง ในถิ่นเมโสโปเตเมีย อิรัค และอิหร่าน เรื่อยมาจนถึงอินเดียและจีนแล้ว ก็ควรกล่าวถึงประวัติความเป็นมาของยาเสพติดในฮ่องกงและญี่ปุ่น ที่ได้เกริ่นไว้แล้วในสงครามฝิ่นระหว่างจีนกับอังกฤษ เมื่อฮ่องกงต้องตกเป็นของอังกฤษตามสัญญาเช่านั้น ชาวจีนก็ดูเหมือนว่าจะขาดอากาศหายใจ ดวงตามืดมิดเพราะเกาะฮ่องกงเปรียบเสมือนใบหน้าของชาวจีนในสายตาของชนผิวขาว ในการติดต่อกับโลกเสรี โดยแท้จริงแล้วยาเสพติดไม่มีแหล่งกำเนิดในฮ่องกง แต่มีการลักลอบไปจากจีนคอมมิวนิสต์ พม่า ลาว และไทย ซึ่งเดิมนั้นเป็นการลักลอบเข้าสู่ฮ่องกงแล้วจึงไปแปรรูปเป็นเฮโรอีนในฮ่องกง แต่ปัจจุบันนี้ส่วนใหญ่เป็นการลักลอบนำเฮโรอีนเข้าสู่ฮ่องกง ประกอบกับฮ่องกงเป็นเมืองท่าเสรีไม่เก็บภาษีขาเข้าและออกเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นการตรวจสินค้าจึงไม่เข้มงวดเว้นไว้แต่ของที่ผิดกฎหมาย และโดยที่ฮ่องกงเป็นเสมือนประตูไปสู่ตะวันออก ฮ่องกงจึงเป็นแหล่งใหญ่ที่มีผู้ลักลอบนำยาเสพติดส่งออกและถ้าจะเทียบจำนวนผู้ติดยาต่อประชากรทั้งสินแล้ว ก็นับว่าฮ่องกงมีผู้ติดยาเสพติดสูงประเทศหนึ่งเหมือนกันทั้งที่รัฐบาลฮ่องกงก็ได้ พยายามปราบปรามอย่างเข้มงวดกวดขันแล้ว โดยตั้งสำนักงานปราบปรามยาเสพติด (Narcotics Bureau) ขึ้นในกรมตำรวจ และตั้งหน่วยพิเศษปราบยาเสพติด (Special Narcotics Section) ขึ้นในกรมการค้าและอุตสาหกรรม เพื่อทำการปราบปรามผู้ลักลอบนำยาเสพติดเข้าสู่ฮ่องกง โดยประจำอยู่ที่ท่าเรือ ท่าอากาศยานเพื่อตรวจสินค้าและผู้โดยสารที่ผ่านเข้าออก หน่วยงานทั้งสองนี้ได้ประสานงานกันอย่างใกล้ชิด และติดต่อประสานงานกับหน่วยปราบปรามยาเสพติดของประเทศต่าง ๆ รวมทั้งองค์การตำรวจสากลด้วย

ตามสถิติปรากฏว่าผู้ต้องคำพิพากษาให้จำคุกในคดีอาญาทั่วไปมีถึงร้อยละ 60 เป็นคดีเกี่ยวข้องกับยาเสพติด เช่นเดียวกับในประเทศไทยที่พบว่าผู้ต้องหาคดีอาญาทั่วไปร้อยละ 58 เป็นคดีเกี่ยวข้องกับยาเสพติด รัฐบาลฮ่องกงจึงได้จัดตั้งเรือนจำพิเศษขึ้นที่ฝั่งเกาลูน ชื่อ Tai Lam Prison เพื่อบำบัดผู้ติดยาเสพติดโดยเฉพาะ โดยดำเนินการเป็น 2 ระยะคือ การถอนพิษยา และระยะพักฟื้น เช่นเดียวกับที่ดำเนินการอยู่ในสหรัฐอเมริกา ส่วนผู้ติดยาเสพติดซึ่งสมัครใจเข้ารับการบำบัดรักษา ก็จะถูกส่งไปที่โรงพยาบาล Castle Peak แต่สภาพของโรงพยาบาลแห่งนี้ปรากฏว่าสร้างเป็นกึ่งเรือนจำ มีเครื่องมืออุปกรณ์ด้านบันเทิงและการสันทนาการ เพื่อช่วยให้ลืมความหลังหลายอย่าง รวมทั้งการเล่นกีฬาออกกำลังกายด้วย ต่อมาได้มีองค์การการกุศล องค์การทางศาสนา ได้ใช้เกาะเชคกูโจวเปิดรับสมัครรักษาผู้ติดยาเสพติดและเริ่มชีวิตใหม่โดยจัดมอบเครื่องมือกสิกรรม เลี้ยงสัตว์และฝึกอาชีพให้

ประเทศที่มีการค้าขึ้นหน้าขึ้นตาถัดจากฮ่องกงไปคือประเทศญี่ปุ่น ซึ่งแต่เดิมนั้นกล่าวได้ว่าไม่เคยประสบปัญหายาเสพติดมาก่อน ฝิ่นและมอร์ฟีนเริ่มเข้าไปเผยแพร่ในญุ่ปุ่นเมื่อครั้งสงครามระหว่างจีนกับญี่ปุ่นดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ซึ่งในครั้งนั้นญี่ปุ่นได้ใช้กุศโลบายยาเสพติดเป็นสงครามเย็นกับจีน ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมายาเสพติดก็ได้ระบาดและแพร่หลายไปอย่างรวดเร็วทั่วประเทศเช่นกัน จนกระทั่งถึง พ.ศ. 2490 ปัญหายาเสพติดในญี่ปุ่นก็รุนแรงมากคณะกรรมการปราบปรามยาเสพติดซึ่งตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2505 ก็ได้ประกาศว่าขณะนี้ญี่ปุ่นต้องซื้อยาเสพติดจากต่างประเทศปีละจำนวนมาก โดยลักลอบนำเข้ามาจากฮ่องกงและไต้หวัน จำนวนผู้ติดยาเสพติดในญี่ปุ่นมีไม่น้อยกว่า 200,000 คน และนับว่าจะทวีเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ปัญหาที่ตามมาได้แก่ปัญหาอาชญากรในญี่ปุ่นที่ทวีเพิ่งขึ้น เนื่องจากผู้ติดยาเสพติด จากการที่ปัญหายาเสพติดขึ้น 2 แห่งที่ โตเกียว และโอซาก้า กำหนดขยายโครงการของหน่วยปราบปรามยาเสพติดขึ้นเป็นกรม และส่งเจ้าหน้าที่มาดำเนินการสืบสวนประจำในต่างประเทศคือ ฮ่องกง ไทย พม่า และสิงคโปร์

ยาเสพติดส่วนใหญ่จากส่วนต่าง ๆ ของโลกจะถูกส่ง่ไปยังทวีปยุโรปหรือสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นประเทศที่ร่ำรวย เหมาะแก่การขายยาเสพติดซึ่งมีราคาสูง ยาเสพติดในรูปของมอร์ฟีนและฝิ่นเริ่มเข้าสู่สหรัฐฯ เมื่อ พ.ศ. 2343 เป็นต้นมา คือตั้งแต่ก่อนและระหว่างสงครามกลางเมือง ทหารอาสาสงครามที่ได้รับบาดเจ็บในระหว่างสงครามติดมอร์ฟีนกันมาก ครั้นมาภายหลังชาวเยอรมัน ชื่อ เดรสเสน (Dressen) ได้ค้นพบเฮโรอีน เฮโรอีนจึงได้แพร่หลายเข้าสู่สหรัฐฯ ในปี พ.ศ.2443 ต่อมาอีก 25 ปี คือ พ.ศ. 2468 วงการแพทย์ในสหรัฐอเมริกาพิสูจน์ได้แน่ชัดว่า เฮโรอีนนี้เป็นยาเสพติดร้ายแรง แต่ในระหว่างนั้นก็มีผู้ติดเฮโรอีนอยู่ถึงประมาณ 2 แสนคนแล้วและเมื่อมีรัฐบาลประกาศห้าม ผู้ติดเฮโรอีนซึ่งมีจำนวนมากอยู่แล้วก็พากันไปซื้อจากตลาดมืด และเฮโรอีนก็มีราคาแพงขึ้นเรื่อย ๆ

ลักษณะการติดยาเสพติด

ยาเสพติดบางชนิดก่อให้เกิดการติดได้ทั้งทางร่างกายและจิตใจ แต่ยาเสพติดบางชนิด ก็ก่อให้เกิดการติดทางด้านจิตใจ เพียงอย่างเดียว

การติดยาทางกาย

เป็นการติดยาเสพติดที่ผู้เสพมีความต้องการเสพอย่างรุนแรง ทั้งทางร่างกายและจิตใจ เมื่อถึงเวลาอยากเสพแล้วไม่ได้เสพ จะเกิดอาการผิดปกติอย่างมาก ทั้งทางร่างกายและจิตใจ ซึ่งเรียกว่า “อาการขาดยา” เช่น การติดฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน เมื่อขาดยาจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน หาว น้ำมูกน้ำตาไหล นอนไม่หลับ เจ็บปวดทั่วร่างกาย เป็นต้น

การติดยาทางใจ

เป็นการติดยาเสพติดเพราะจิตใจเกิดความต้องการ หรือ เกิดการติดเป็นนิสัย หากไม่ได้เสพร่างกายก็จะไม่เกิดอาการผิดปกติ หรือทุรนทุรายแต่อย่างใด จะมีบ้างก็เพียงเกิดอาการหงุดหงิดหรือกระวนกระวายใจเท่านั้น

การติดยาทางกาย
การติดยาทางใจ
  1. ต้องตกอยู่ภายใต้การบังคับให้ต้องเสพ จะหยุดเสพไม่ได้
  1. ไม่ถึงกับตกอยู่ภายใต้การบังคับให้ต้องเสพ แต่มีความต้องการที่จะเสพต่อไป
  1. ต้องเพิ่มปริมาณในการเสพยิ่งขึ้นเรื่อยๆ
  1. ไม่มีแนวโน้มที่จะต้องเพิ่มปริมาณการเสพมากนัก
  1. ตกเป็นทาสทั้งทางร่างกายและจิตใจ หากไม่เสพจะเกิดอาการขาดยา ต้องทุรุนทุราย ทั้งทางร่างกายและจิตใจ
  1. ไม่มีอาการขาดยา

ยาเสพติด มีกี่ประเภท

ปัจจุบันยาเสพติดมีมากมายหลายร้อยประเภท ซึ่งสามารถแบ่งได้ดังนี้

  1. แบ่งตามการออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง
    1. ประเภทกดประสาท ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน ยากล่อมประสาท สารระเหย ยานอนหลับ
    2. ประเภทกระตุ้นประสาท ได้แก่ แอมเฟตามีน กระท่อม โคคาอีน ยาอี เอ็คตาซี
    3. ประเภทหลอนประสาท ได้แก่ แอลเอสดี ดีเอ็มที เห็ดขี้ควาย ยาเค
    4. ประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน ( อาจกด กระตุ้น หรือหลอนประสาท ร่วมกัน ) ได้แก่ กัญชา
  2. แบ่งตามแหล่งที่มา
    1. จากธรรมชาติ เช่น ฝิ่น มอร์ฟีน กระท่อม กัญชา ฯลฯ
    2. จากการสังเคราะห์ เช่น เฮโรอีน แอมเฟตามีน ยาอี เอ็คตาซี ฯลฯ
  3. แบ่งตามกฎหมาย
    1. พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 เช่น แอมเฟตามีน เฮโรอีน LSD ยาอี ฯลฯ
    2. พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตใจและประสาท พ.ศ. 2518 เช่น อีเฟดรีน
    3. พระราชกำหนดป้องกันการใช้สารระเหย พ.ศ. 2533 เช่น ทินเนอร์ กาว แล็กเกอร์
การสังเกตผู้ติดยาเสพติด

เนื่องจากยาเสพติดทั้งหลาย เมื่อเกิดการเสพติดจะมีผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจของผู้เสพ ซึ่งทำให้ลักษณะ และความประพฤติของผู้เสพยาเสพติดเปลี่ยนไปจากเดิม

การสังเกตสมาชิกในครอบครัว
หากสงสัยว่าสมาชิกในครอบครัวติดยาเสพติดหรือไม่ อาจสังเกตได้จาก

  1. การใช้เงินสิ้นเปลือง
    โดยเด็กจะใช้เงินเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ภายในไม่เกิน 1 ปี ซึ่งผู้ปกครองสามารถตรวจสอบ หรือควบ
    1. อุปกรณ์การเสพ
      อาจพบบุหรี่ที่มีรอยยับ และมักจะเก็บไว้ต่างหาก หรือพบกระดาษฟรอยด์ ไฟแช็ค และหลอด
    2. มีนิสัยโกหก
      เด็กจะเริ่มโกหกจากเรื่องเล็กๆ น้อยๆ เช่น เสพยาในห้องน้ำนานแต่โกหกว่าท้องผูก เป็นต้น จนกระทั่งเรื่องที่โกหกจะมีความสำคัญมากขึ้น เช่น โกหกว่าเครื่องประดับหาย หรือ โรงเรียนบังคับให้ซื้อเครื่องมือที่ราคาแพงๆ เป็นต้น
    3. มีนิสัยลักขโมย
    4. มีนิสัยเกียจคร้าน และไม่รับผิดชอบ
      หลังจากที่เสพยาเสพติดแล้ว ผู้เสพจะมีอาการเมายา ทำให้ลดความตั้งใจ และลดพฤติกรรมต่างๆ ลง ไม่สนใจสิ่งแวดล้อมรอบตัว
    5. ร่างกายไม่แข็งแรง ผอมแห้งแรงน้อย
      เนื่องจากไม่มีอาการอยากรับประทานอาหารเพราะอยู่ในอาการเมายา หรือต้องการพยายามเก็บเงินไว้ เพื่อซื้อยาเสพติดในครั้งต่อไป
    6. ขาดความเป็นระเบียบเรียบร้อย สกปรก
    7. อารมณ์ฉุนเฉียว หงุดหงิดง่าย เอาแต่ใจตัวเอง
      ในการตรวจสอบหัวข้อนี้ ผู้ปกครองจะต้องมีความหนักแน่น มีเหตุผล และตั้งอยู่บนพื้นฐานความรัก และความเข้าใจในครอบครัว
    8. เก็บตัว ไม่สุงสิงกับคนอื่นไม่รับรู้ปัญหาภายในบ้าน และใช้ห้องน้ำนาน
    9. ติดต่อกับคนแปลกหน้า ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพวกที่เสพยาเสพติดเหมือนกัน

    จากหัวข้อที่ควรตรวจสอบสมาชิกในครอบครัวดังกล่าว ถ้าพบว่ามีลักษณะสัมพันธ์กับหัวข้อใดหัวข้อหนึ่ง หรือหลายหัวข้อ ก็พิจารณาได้ว่า สมาชิกในครอบครัวของท่านมีแนวโน้ม พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ไม่ถูกต้อง สมควรแก้ไข ซึ่งยังไม่จำเป็นว่าต้องให้เห็นชัดเจนว่า ใช้ยาเสพติดแล้วจึงต้องแก้ไข เพราะปัญหาจากการใช้ยาเสพติดจะค่อยๆ ก่อตัวจากเล็กไปสู่ใหญ่ ถ้ารอให้ชัดว่ามีการใช้ยาเสพติด โดยผู้ใช้ยาเสพติดไม่สนใจคำแนะนำคำสั่งสอนอบรม ของคนในครอบครัวแล้ว นับว่าเป็นเรื่องยากต่อการแก้ไขอย่างมาก

    สำหรับการติดยาเสพติดบางชนิด ผู้เสพอาจมีลักษณะและความประพฤติที่อาจสังเกตเห็นได้ ดังนี้

    1. การสังเกตอาการของผู้เสพหรือติดยาบ้า

    การเสพยาบ้า ผุ้เสพอาจจะไม่เกิดอาการเสพติดในครั้งหรือสองครั้งแรกที่เสพ เหมือนเข่นการเสพเฮโรอีน แต่เมื่อใช้ไปเป็นระยะเวลานาน จะทำให้ร่างกายเสื่อมโทรมลง เนื่องจากร่างกายไม่ได้รับการพักผ่อน และยังไปทำลายระบบประสาทอีกด้วย การสังเกตอาการของผุ้ติดยาสามารถสังเกตได้ดังนี้

    1. อาการทางร่างกาย
      1.1 ผู้ป่วยมักจะผอมลง น้ำหนักลดโดยเฉพาะรายที่ใช้มากและใช้มาเป็นเวลานาน
      1.2 การดูแลความสะอาดร่างกายมักจะลดลง
      1.3 มีการเคลื่อนไหวเพิ่มมากขึ้น เช่น แขนขา ใบหน้า บางรายชอบกัดกราม บางรายไม่อยู่นิ่งเดินไปเดินมา
    2. ดูเรื่องของจิตใจ และอารมณ์
      2.1 เวลาไม่ได้รับยา มักจะมีความซึมเศร้าหรือหงุดหงิดง่าย
      2.2 อุปนิสัยเปลี่ยนไป เช่น จากเป็นคนเรียบร้อย เชื่อฟังกลายเป็นคนก้าวร้าว ดุดัน หงุดหงิดโมโหง่าย
    3. ดูเรื่องการหลับการตื่น
      3.1 มักจะดึกมาก และมักชอบฟังเพลงเสียงดังแล้วตื่นสายมาก เห็นได้ชัดในวันสุดสัปดาห์ (มักจะมั่วสุมใช้ยาในเย็นวันศุกร์)
      3.2 มักจะหลับในห้องเรียน หรือง่วงนอน ขาดสมาธิ
    4. ผลการเรียน
      4.1 ผลการเรียนโดยรวมมักจะลดลงเพราะขาดสมาธิ และความจำมักจะมีประสิทธิภาพลดลง
      4.2 ความร่วมมือในกิจกรรมการเรียนลดลง ขาดเรียนบ่อยและมักมาสาย
    5. การคบเพื่อน
      5.1 คบเพื่อนที่ใช้ยาด้วยกันซึ่งมักจะเป็นกลุ่มเพื่อนที่ไม่ค่อยสนใจเรียน
      5.2 เมื่อผู้ป่วยรับโทรศัพท์ มักจะระมัดระวังในการพูดเหมือนมีความลับ หรือเมื่อมีโทรศัพท์เข้ามา ถ้าคนอื่นรับสายมักจะเงียบไป ไม่ยอมพูดหรือสั่งข้อความไว้
      5.3 การคบเพื่อนมักจะมีลักษณะพากันเที่ยวกลางคืนและกลับดึก มีการใช้เหล้าบุหรี่ด้วย
      5.4 บางรายอาจจะมีเงินทองใช้จ่ายมากกว่าผิดปกติ โดยไม่มีแหล่งที่มาของเงินชัดเจน อาจเป็นไปได้ผู้ป่วยอาจจะเริ่มกลายเป็นผู้ค้ารายย่อย
    6. อุปกรณ์การแสบ
      มักจะมีกระดาษฟรอยที่พับเป็นกรวยหรือกระทง พร้อมเทียนหรือไฟเช็คสำหรับเผายา และหลอดดูด ซึ่งอาจจะพบในห้องน้ำหรือกระเป๋า

    นอกจากนั้นการเข้าใจธรรมชาติของผู้เสพติดหรือผู้ติดยา การมีความสันพันธ์ที่ดีมีความเอื้อเฟื้ออาทร ของผู้ที่ที่ป่วยเคารพรัก หรือคนที่รักเรา จะเป็นเหตุให้เขายอมเล่าความจริง โดยไม่ต้องกลัวว่าจะถูกตำหนิอย่างรุนแรง และควรนำความจริงและข้อผิดพลาดนั้น มาวิเคราะห์แล้วหาวิธีการช่วยเหลือ จะเป็นการป้องกันการกลับไปติดยาซ้ำ (Relapese prevention) เพราะผู้ติดยามีโอกาสผิดพลาดอีก แม้จะเลิกได้เป็นเวลานานแล้วก็ตาม

    ผู้ปกครองควรสังเกตอาการ และเข้าใจธรมชาติของผุ้เสพติด มากกว่าเป็นการจับผิด ซึ่งการมีความสัมพันธ์ที่ดีมีความเอื้ออาทร จะทำให้เขายอมเล่าความจริง ดดยไม่ต้องเกรงกลัวว่าจะถูกตำหนิอย่างรุนแรง และนำข้อผิดพลาดเหล่านั้นมาวิเคราะห์หาวิธีการช่วยเหลือ ซึ่งจะเป็นการป้องกันการกลับไปติดยาซ้ำ (Relapese prevention) อย่างไรก็ตามหากผุ้ปกครองไม่แน่ใจ อาจจะใช้วิธีการตรวจสอบปัสสาวะก็ได้ แต่ต้องระวังเรื่องของผลบวกปลอม ซึ่งเกิดจากการผิดพลาดของการใช้ยาแก้หวัดบางตัว อาจทำให้เข้าใจผิดกันได้

    2. การสังเกตอาการของผู้เสพหรือติดฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน

    ผู้ที่เสพยาเสพติด ประเภทนี้ จะมีลักษณะที่สังเกตได้ชัด คือ ร่างกายซูบซีดผอมเหลือง นัยน์ตาเหลืองซีด ม่านตาหรี่ไม่กล้าสู้แสง (จึงสวมแว่นกันแดด) ริมฝีปากเขียวคล้ำ ง่วงเหงาหาวนอนตลอดเวลา และส่วนใหญ่จะมีอาการเฉยเมยต่อสิ่งแวดล้อม และสภาพการณ์ของตัวเอง หลายคนกลายเป็นคนฟุ้งซ่าน เกียจคร้าน หรือไม่อารมณ์เปลี่ยนแปลง ถ้าสังเกตตามร่างกายอาจพบร่องรอยบางอย่าง เข่น จมูกแดง มีผงติดตามจมูก( ถ้าสูดเฮโรอีนผง) มีรอยเข็มด้านในท้องแขน (ถ้าฉีดเฮโรอีนเข้าเส้น) มักจะใส่เสื้อแขนยาว เพื่อปกปิดร่องรอยการฉีด ยาบริเวณแขน หรือหลังมือทั้งสองข้าง และ หลังจากใช้เฮโรอีนแล้ว จะมีอารมณ์ดียิ้มง่าย ครื้นเครง ปากหวาน ถ้าใช้มากอาจนั่งสับปะหงก นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์การเสพ เช่น กล้องฝิ่น ก้อนฝิ่นดำ ผงสีขาวในถุงในแคปซูล ช้อนคีบ กระบอกและเข็มฉีดยา ฯลฯ ซุกซ่อนอยู่ตามที่ปกปิดมิดชิด

    3. การสังเกตอาการของผู้เสพหรือติดยาหลอนประสาท

    ผู้เสพติดมันจะนอนหรือนั่งสลึมสลืม บางรายมีอาการเปลี่ยวแปลงทางด้านสายตาการรับรู้และการสัมผัส ตาทำให้กลาเป็นคนขี้ตระหนกตกใจ หวาดกลัว นอกจากนี้ยังมีน้ำลายออกมาก ฝ่ามือมีเหงื่อออกอารมณ์ และนิสัยเปลี่ยนแปลงจากเดิมจนเห็นได้ชัด

    4. การสังเกตอาการของผู้เสพหรือติดกัญชา

    ผู้เสพติดมักมีความคิดเลื่อนลอย สับสน อ่อนไหวจาควบคุมตัวเองไม่ได้ บางครั้ง แสดงอาการแปลกๆเพราะการรับรู้ภาพผิดปกติ บางรายที่เสพมากๆอาจมีอาการตื่นเต้น กระสับกระส่ายตลอดเวลา กล้ามเนื้อลีบ มือเท้าเย็น และหายใจขัดบ่อยๆ ในส่วนที่ตัวอาจพบว่าผู้เสพซุกซ่อนบ้องกัญชา หรือซุกซ่อนบุหรี่ ที่มีมวนบุหรี่รูปทรงผิดแปลกจากปกติ เช่น มวนหนาขึ้น กระดาษมีสีน้ำตาลเกือบขาว กระดาษมวนยับ (ไม่เรียบ) ปลายมวนบุหรี่ทั้งสองข้างจะถูกพับไว้ ไส้ในมวลบุหรี่ จะมีสีเขียวกว่าปกติ เป็นต้น ในกรณี ที่เห็นผู้สูบบุหรี่ที่ยัดไส้กัญชา จะได้กลิ่นเหม็นเหมือนหญ้าหรือเชือกไหม้ไฟ

    5. การสังเกตอาการของผู้เสพหรือติดสาระเห

    ผู้เสพติดจะมีกลิ่นสาระเหยทางลมหายใจ และตามเสื้อผ้า มักง่วงเหงาหาวนอน ขาดสติสัมปชัญญะ มีอาการเหมือนคนเมาเหล้า พูดจาอ้อแอ้ เดินโซเซ น้ำมูกไหล มักมีแผลในปาก ในที่ส่วนตัว อาจพบภาชนะ หรือวัสดุใส่สารระเหยซุกซ่อนไว้ หากพบขณะ กังเสพอาจเห็ฯที่นิ้วมือมีผ้าสำลีซึ่งชุบสารระเหยพันอยู่และผุ้เสพยกนิ้วนั้นขึ้นสูดดมอยู่ตลอดเวลา หรืออาจพบว่า กำลังดมถุงพลาสติกที่ใส่สารระเหย


ใส่ความเห็น